fbpx

ลูกติดมือถือ ลูกติดเกม ก้าวร้าว จิตแพทย์เด็กช่วยได้

ด้วยสังคมที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเลี้ยงดูลูกย่อมเปลี่ยนตามยุคสมัย ปัจจุบันมือถือคืออีกปัจจัยสำคัญของชีวิตและเด็ก ๆ ก็สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่จำความได้ ยิ่งบ้านไหนพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลโอกาสที่จะเกิดปัญหา “ลูกติดมือถือ” หรือลูกติดเกมมีสูงมาก นำมาซึ่งนิสัยก้าวร้าว เอาแต่ใจ โมโหร้าย เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อแม่กำลังเจอปัญหานี้อยู่ควรรีบหาวิธีแก้ไขทันที

ลูกติดมือถือ ติดเกม ทำไมมักมีนิสัยก้าวร้าว

ต้องอธิบายเพิ่มเติมก่อนเล็กน้อยว่า ยุคนี้เด็กที่มีพฤติกรรมติดมือถือเริ่มได้ตั้งแต่ 1-2 ขวบ หากพ่อแม่เลี้ยงดูโดยปล่อยให้เขาดูหรือเล่นมือถือแทบตลอดเวลา ขณะที่เด็กติดเกมก็จะมีวัยที่เติบโตมากขึ้น สมองเริ่มเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ที่ยากขึ้น อายุเริ่มต้นประมาณ 4-5 ขวบ

ตรงนี้เองที่พ่อแม่หลายคนมักสงสัยว่าทำไมลูกติดมือถือ ติดเกม จึงมักมีนิสัยก้าวร้าว ทำตัวไม่น่ารัก สาเหตุหลักเพราะเวลาที่เด็กอยู่กับมือถือหรือระหว่างเล่นเกมพวกเขาจะรู้สึกว่าตนเองควบคุมได้ทุกสิ่งอย่าง ยิ่งถ้าเป็นเด็กติดเกมจะเพิ่มนิสัยการเป็นผู้ชนะ ยกตนข่มท่าน ไม่ยอมใคร พอเลิกจากการอยู่กับมือถือ เลิกจากเล่นเกม นิสัย พฤติกรรมเหล่านั้นก็ยังติดตัว พอไม่ได้ดังใจก็จะเริ่มก้าวร้าว โวยวาย เอาแต่ใจจนพ่อแม่กลุ้ม

พาลูกไปพบจิตแพทย์แก้นิสัยติดมือถือ ติดเกม

การไปพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อแม่สังเกตพฤติกรรมแล้วพบว่าลูกติดมือถือ ติดเกม อย่ารอช้าในการพาเขาไปแก้ไขนิสัยเหล่านั้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งทางจิตแพทย์เองจะมีเทคนิค วิธีโน้มน้าวใจเพื่อให้เด็กเลิกทำตัวแบบนั้น รวมถึงพ่อแม่เองก็จะได้เข้าใจพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัยด้วยว่าเป็นแบบไหน และควรเลี้ยงดูอย่างไรให้เหมาะสมมากที่สุด เด็กจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ

หากิจกรรมอื่นให้ลูกทำและพ่อแม่ต้องมีส่วนร่วม

หากไม่อยากเห็นลูกติดมือถือ ติดเกมจนส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต แนะนำให้ลองหากิจกรรมที่พ่อแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้ หรืออย่างน้อยที่สุดพยายามบอกให้เขาทำอย่างอื่นนอกจากการดูมือถือ การเล่นเกม เช่น ลองมาทำอาหาร, ปลูกต้นไม้, ตกแต่งบ้านด้วยกัน, ซื้อหนังสือมาให้ลูกอ่าน, พาลูกออกไปเล่นกีฬา และอีกมากมาย

แม้การมีพื้นฐานครอบครัวที่ดีจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สังคมคาดหวัง แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มือถือมีอิทธิพลกับชีวิตมากขึ้น พ่อแม่จึงต้องรู้วิธีเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม ให้เด็กไม่ติดมือถือมากจนเกินไป มีความสุขในทุกช่วงของการใช้ชีวิต

Sign Up Here!

Get notified when more articles like these get published.

Share Article

Sign Up

Get notified when this course becomes available again!