fbpx

แจกทริคดูแลตัวเองยังไง ให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม

เมื่อเราเข้าสู่ยุคที่ต้องทำงานอย่างบ้าระห่ำ เพื่อหาเลี้ยงปากท้อง การนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมกันได้อย่างง่ายดาย โรคสุดฮิตติดท็อปเท็นของคนวัยทำงาน เอาล่ะ ในเมื่อไม่สามารถเลิกหรือหยุดทำงานได้ เราจะทำงานอย่างไรให้ห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมกันดี ก่อนอื่นไปดูกันดีกว่าว่าเจ้าออฟฟิศซินโดรมที่ว่านี้มันคือไรกันแน่ การสร้างเสริมสุขภาพร่างกายที่ดีให้ห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้างนั้นไปดูพร้อมๆกันเลย

women office worker sitting in front of computer, stretching her neck to relief office syndrome

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร ใครมีโอกาสเป็นบ้าง

ทำความรู้จักกับกลุ่มอาการสุดฮิตของเหล่าพนักงานออฟฟิศอย่าง “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดอักเสบและมีการปวกเมื่อยตามอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะบริเวณ คอ บ่า ไหล่ หลัง ข้อมือ เป็นต้น สาเหตุมาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน กลุ่มอาการนี้ไม่เพียงแต่พบในพนักงานออฟฟิศเท่านั้น หากแต่ยังพบในกลุ่มคนทั่วไปที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมนานๆโดยไม่ได้พักหรือเปลี่ยนอิริยาบถให้ร่างกายยืดเหยียดผ่อนคลาย การสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้ง่ายๆโดยการปรับท่านั่งให้ถูกต้อง หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นผ่อนคลาย

ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไร

ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถหรือการนั่งทำงานด้วยท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง, การนั่งไขว่ห้าง อันเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวเป็นระยะเวลานาน

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดออฟฟิศซินโดรม

  1. ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น ท่านั่งทำงาน, ท่านั่งไขว่ห้าง, ท่าก้มเล่นมือถือ
  2. ระยะเวลานาน การอยู่ในท่าเดิมนานๆอาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อย
  3. แรงกดเฉพาะที่ กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก อาจเกิดการอักเสบการจากถูกแรงกด
  4. การอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ แบบไม่ถูกวิธีส่งผลเสียมากกว่าผลดี

สัญญาณที่บอกว่าเราเป็นออฟฟิศซินโดรม

มาสังเกตอาการของตัวเองกันบ้างดีกว่าว่าตอนนี้เข้าข่ายเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วหรือยัง ก่อนอื่นบอกไว้ก่อนเลยว่าเจ้าอาการออฟฟิศซินโดรมนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้และสามารถกลับมาเป็นอีกได้หากกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิม

รวมอาการที่เข้าข่ายการเป็นออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดหลังเรื้อรัง ปวดไม่หาย
  • ปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดร่วมทุกส่วนไม่สามารถเจาะจงบริเวณที่ปวดได้
  • ปวดศรีษะบ่อยครั้ง ปวดไมเกรน
  • ปวดชาบริเวณข้อมือ นิ้วล็อค อันเกิดจากพังผืดบริเวณข้อมือและนิ้วมือ

วิธีดูแลตัวเองเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรม

การสร้างเสริมสุขภาพให้ดูสุขภาพดีมีอะไรบ้าง เริ่มต้นด้วยการปรับท่านั่งทำงานให้ถูกต้อง ถูกวิธี ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม สำหรับบางคนอาจต้องการวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรม เราก็มีวิธีรักษามาฝากด้วยเช่นกันตามวิธีดังต่อไปนี้

1.การทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงท่าฝึกกายภาพด้วยตัวเองที่บ้านก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้หายขาดได้ไวขึ้น ส่วนการกายภาพมีอยู่หลายวิธี ได้แก่ การทำกายบริหาร การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น

2.การออกกำลังกาย เน้นการออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้ามเนื้อเกิดความยืดหยุ่น หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบมีการออกแรงกระแทก การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับชาวออฟฟิศซินโดรม เช่น การเล่นโยคะ การว่ายน้ำ เป็นต้น

3.การปรับโต๊ะทำงาน มีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้อย่างถูกตำแหน่ง รวมถึงความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้ซัพพอร์ตร่างกายได้เป็นอย่างดี

4.การใช้ยารักษา วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดมากจึงต้องทำการพบแพทย์เพื่อใช้ยารักษาบรรเทาอาการเจ็บปวด

สรุป

วัยทำงานสามารถดูแลสุขภาพด้วยการสร้างเสริมสุขภาพด้านการทำงานให้ห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม ปัญหาสุขภาพหลักๆที่กวนใจคนวัยทำงานอย่างมาก สุขภาพดีเริ่มต้นง่ายๆที่ตัวเรา เริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพดีในวันข้างหน้า

Sign Up Here!

Get notified when more articles like these get published.

Share Article

Sign Up

Get notified when this course becomes available again!