ใกล้สิ้นปีทีไรคงหนีไม่พ้นกระแสการวางแผนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบการที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้แล้ว การวางแผนที่ดีจะช่วยให้คุณเสียภาษีได้อย่างคุ้มค่าที่สุด หลายคนมองหาค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาลดหย่อนภาษีเพื่อความคุ้มค่าที่สุด สำหรับ First Jobber หรือผู้ไม่มีความรู้ด้านการวางแผนภาษี เพราะยื่นปีละครั้งอีกทั้งเงื่อนไขก็มากมายจึงเกิดการสับสนและหลงลืมได้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการวางแผนภาษีฉบับย่อยง่าย ไม่ยุ่งยากไปพร้อมๆกัน
วางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ สำคัญยังไง
ก่อนที่จะเริ่มวางแผนภาษีมาดูความสำคัญกันก่อนว่ามีความสำคัญอย่างไร? เหตุใดเราต้องวางแผนทุกๆปีกันนะ? แน่นอนเลยว่าคนไทยที่มีรายได้ เมื่อผลรวมต่อปีอยู่ในขั้นที่ต้องเสียภาษีแล้วนั้นจำเป็นต้องมองหาวิธีการวางแผนภาษี เพื่อจ่ายภาษีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องคุ้มค่ากับสิ่งที่นำมาลดหย่อนภาษีด้วยนะ หากไม่ได้วางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ อาจไม่ทันใช้ลดหย่อนภาษีในปีปัจจุบัน ต้องใช้ลดหย่อนของปีถัดไปแทน
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนวางแผนภาษี
รายได้
สำหรับมนุษย์เงินเดือนสามารถวางแผนภาษีล่วงหน้าได้ง่ายกว่าผู้ที่มีรายได้ประเภทอื่น เพราะเงินเดือนจะได้คงที่เท่ากันทุกเดือนอยู่แล้ว คำนวณได้ง่ายๆ โดยนำ เงินเดือน x12 = รายได้ทั้งปี
ส่วนรายได้อื่นๆจะถูกแยกย่อยออกไป โดยเงินได้ทั้งหมดแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งรายได้ส่วนอื่นให้บวกเข้าไปหลังจากได้ยอดรายได้ทั้งปีมาแล้ว
ค่าใช้จ่ายที่หักภาษีได้หรือค่าลดหย่อน
- ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท
- ลดหย่อนภาษีคู่สมรส ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสไม่มีรายได้ 60,000 บาท
- ลดหย่อนภาษีบุตร บุตรคนแรก อายุไม่เกิน 20 ปี หรือ 25 ปี และกำลังเรียนอยู่ ลดหย่อนได้ 30,000 บาท บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไปลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาทลดหย่อนภาษีบิดามารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ไม่สามารถใช้สิทธิ์ซ้ำซ้อนระหว่างพี่น้องได้ลดหย่อนภาษีผู้พิการ ผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุในบัตรคนพิการเท่านั้น ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ครอบคลุมทั้งค่าฝากครรภ์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล
- ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน
- ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
- ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค
- ลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ เช่น ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย, Easy E-Receipt (เฉพาะร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 67 นี้เท่านั้น)
ทั้งหมดนี้เป็นรายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องสำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายนะคะ
วิธีคำนวณภาษี และยื่นภาษี
สำหรับใครที่เตรียมความพร้อมมาเต็ม 100% แล้วสามารถเข้าไปยื่นภาษีที่เว็บไซต์กรมสรรพากรได้ที่นี่
ส่วนใครที่ยังไม่พร้อมไม่เป็นไร เรามาทบทวนไปด้วยกันอีกครั้งก่อนยื่นจริงกันเลย
รายได้
พนักงานที่รับเงินเดือนคำนวณได้ง่ายๆ โดยนำ เงินเดือน x12 = รายได้ทั้งปี
ค่าใช้จ่าย
- หักประกันสังคมยอดรวมที่จ่ายทั้งปี (มีระบุใน 50 ทวิ)
- ภาษี หัก ณ ที่จ่าย (บางบริษัทจะหักไว้ ตอนจ่ายเงินเดือนทุกเดือน) นำยอดไประบุที่หน้าเว็บได้เลย
ค่าลดหย่อนต่างๆ
ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อข้างต้น ให้นำยอดมากรอกได้เลย ในการกรอกข้อมูลส่วนนี้จำเป็นต้องเป็นข้อมูลจริง เพราะกรมสรรพากรมีการตรวจสอบอย่างแข็งขัน
ขั้นตอนสุดท้ายจะต้องแนบ 50 ทวิ ที่ได้จากทางบริษัท(นายจ้าง) เป็นเอกสารที่สรุปยอดรวมรายได้ทั้งปี ต้องเตรียมเอกสารนี้ไว้ให้พร้อม จะได้ยื่นภาษีได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในครั้งเดียว
สรุป
การวางแผนภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่แต่ละคนควรให้ความสำคัญ เพราะทุกอย่างเป็นการวางแผนให้เสียภาษีอย่างคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ ยิ่งวางแผนได้ดีเท่าไหร่ คุณจะได้รับความคุ้มค่าเป็นผลตอบแทนมากเท่านั้น