fbpx

ผลกระทบของปัญหาวัยเด็กต่อสุขภาพจิตลูกในระยะยาว

ผลกระทบของปัญหาวัยเด็กต่อสุขภาพจิตลูกในระยะยาว

ปัญหาวัยเด็ก ที่ผู้ใหญ่หลายคนเคยพบเจอกับตนเอง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อจิตใจ บางครั้งปัญหาที่เจออาจถูกแก้ไขได้ แต่บางครั้งปัญหานั้นกลับฝังรากลึกอยู่ในใจไม่หายไปตามกาลเวลา จนกลายเป็นปมอยู่ในจิตใจที่ไม่มีทางแก้ให้หายได้

ทำไมปัญหาวัยเด็ก ถึงส่งผลกระทบในระยะยาวได้ และต่อให้เป็นผู้ใหญ่ก็ยังอาจมีปัญหาในสุขภาพจิตได้เพราะปมในวัยเด็ก เพราะอะไร

บาดแผลทางใจในวัยเด็ก (Traumatic Childhood) เป็นประสบการณ์ที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวด และความทุกข์ทางใจต่อเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของเด็กคนนั้น (The National Institute of Mental Health ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความ)

ซึ่งบาดแผลในใจที่เกิดขึ้นในตัวเด็กได้สร้างเป็นปมขึ้นในใจ ระยะเวลาผ่านไปปมนั้นกลับใหญ่และชัดเจนขึ้นทุกที เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะพบว่าปัญหาวัยเด็กทั้งหมดนี้ที่ได้เจอมาเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้ แล้วเพราะเหตุใดจึงส่งผลสุขภาพจิตในระยะยาวได้ล่ะ สาเหตุเพราะว่าในวัยเด็กเป็นช่วงเริ่มต้นที่สมองกำลังพัฒนา และสมองจะพัฒนาได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มั่นคง ปลอดภัย หากในวัยเด็กไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลต่อการพัฒนาสมองได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเรียนรู้, ปัญหาการเข้าสังคม, ปัญหาด้านความสัมพันธ์ ล้วนมีสาเหตุมาจากปัญหาวัยเด็กทั้งนั้น

วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทำได้อย่างไร

วิธีแก้ไขปัญหาวัยเด็กที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการสังเกตว่าตัวเองมีปัญหาในด้านไหนบ้าง ลิสต์ออกมา และหาสาเหตุของปัญหานั้นๆ รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาให้หายขาด ในรายที่มีปัญหาหนักสามารถพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาตามอาการ แต่ก่อนอื่นจิตแพทย์จะทำการสัมภาษณ์ วินิจฉัยปัญหาวัยเด็กเพื่อออกแบบวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้

ตัวอย่างผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เพราะมีปมวัยเด็ก

ปัญหาด้านความสัมพันธ์

พบว่าเวลามีปัญหามักจะหลบเลี่ยงอยู่เสมอ ไม่กล้าเผชิญหน้า เพราะมักคิดว่าเป็นที่ที่ไม่ปลอดภัยกับตัวเอง สาเหตุมาจากในวัยเด็กเคยถูกทอดทิ้ง เมินเฉย ไม่กล้าพูดในสิ่งที่ตนเองรู้สึก เพราะเกรงกลัวว่าตนจะผิดหวัง ในบางครั้งพบว่าผู้ใหญ่ที่สภาพจิตใจวัยเด็กมีปัญหามักจะคิดว่าตนเองคู่ควรกับสิ่งที่ไม่ดี ตนเองไม่มีค่าพอกับสิ่งดีๆ มีความคิดในเชิงลบเสมอ ส่งผลให้สมองสั่งการ กล่อมประสาทตัวเองไปว่ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ จนลืมนึกไปว่าตัวเองมีค่าพอกับสิ่งดีๆ เสมอ การกระทำของตัวเราเองต่างหากที่เป็นตัวกำหนดชีวิต มิใช่จากความคิดที่ตนสร้างมา

ปัญหาทางพฤติกรรม

เมื่อลูกมีปัญหาในวัยเด็ก จะพบกว่าอารมณ์มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญ เมื่ออารมณ์โกรธ, โมโห, หงุดหงิดเกิดขึ้น หากเด็กไม่ได้รับการอบรมอย่างถูกต้อง อารมณ์เหล่านี้จะถูกกดไว้ไม่ให้แสดงออกไปแต่นานวันเข้ามันกลับถูกสะสมให้ออกมาทางพฤติกรรมด้านอื่นแทน

ปัญหาทางสุขภาพจิต

ปัญหาที่เกิดขึ้นที่แสดงออกอย่างชัดเจน ได้แก่ โรคซึมเศร้า, วิตกกังวล มีงานวิจัยทางจิตวิทยาเกี่ยวกับบาดแผลในใจของเด็ก พบว่าปัญหาในวัยเด็ก หรือบาดแผลทางใจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมอง และกระบวนการทำงานของร่างกาย

วิธีป้องกันและแก้ไขที่พ่อแม่ควรทราบ

วิธีป้องกันความเสี่ยงการเกิดปัญหาวัยเด็กที่พ่อแม่ควรทราบ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบเด็กซึ่งอาจสร้างบาดแผลในใจติดตัวไปจนเป็นผู้ใหญ่เลยก็ได้ นั่นก็คือการให้ความสำคัญต่อตัวเด็กมากขึ้น สังเกตว่าลูกมีปัญหาอะไรหรือไม่ และปฏิบัติกับลูกเสมือนเป็นผู้ใหญ่คนนึง ที่มีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดได้เหมือนกัน หากเป็นเช่นนี้แล้วจะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดจากผลกระทบเหล่านี้ได้

บาดแผลในใจวัยเด็ก ไม่ใช่เรื่องตลก ไม่ใช่เรื่องที่พ่อแม่ควรมองข้าม เพราะปัญหาเหล่านี้จะเติบโตขึ้นไปพร้อมกับเด็กและเป็นปมในจิตใจจนส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ในรายที่ร้ายแรง แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้สามารถรักษาได้โดยเข้ารับการรักษา แต่การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นจะดีที่สุด เพราะเด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ และมีความสุขตามวัยที่ควรจะเป็น

Sign Up Here!

Get notified when more articles like these get published.

Share Article

Sign Up

Get notified when this course becomes available again!