fbpx

โพรไบโอติก กินตอนไหน กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

สิ่งที่ทุกคนถูกสอนมาตั้งแต่เด็ก ๆ เกี่ยวกับเรื่องของอาหารนั่นคือต้องกินให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ที่อัดแน่นไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ รวมถึงโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ส่วนคาร์โบไฮเดรตและไขมันเน้นกินปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามนอกจากอาหารเหล่านั้นแล้วสิ่งที่เรียกว่า “โพรไบโอติก” ก็มีความสำคัญต่อร่างกายไม่แพ้กันด้วย ซึ่งหลายคนอาจยังสงสัยว่ามันคืออะไร แล้วโพรไบโอติก กินตอนไหน กินยังไง มาหาคำตอบทั้งหมดกันได้เลย

probiotic โพรไบโอติก the family shed

โพรไบโอติก คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

โพรไบโอติก คือ เชื้อจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียชนิดดีที่มีขนาดเล็กมาก มักอาศัยอยู่ภายในร่างกายโดยเฉพาะบริเวณผนังลำไส้เล็ก ซึ่งเจ้าจุลินทรีย์ดีเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปรับสมดุลทำงานของระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ เช่น ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน มะเร็งลำไส้ ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียชนิดไม่ดี รวมถึงเชื้อโรคฉวยโอกาส ลดภาวะด้านการอักเสบ

ทั้งนี้หลายคนอาจยังจำสับสนกับพรีไบโอติก ซึ่งขออธิบายให้ชัดเจนว่า พรีไบโอติก คือ ใยอาหารที่อยู่ในวัตถุดิบหลายชนิดสำหรับการทำอาหาร เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง กระเทียม ผัก ผลไม้ ซึ่งพวกมันจะเป็นอาหารที่คอยบำรุงโพรไบโอติกอีกทีหนึ่งเนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยด้วยตนเองได้

โพรไบโอติก กินตอนไหนให้ดีต่อสุขภาพ

คำถามที่หลายคนมักสงสัยคือแล้วโพรไบโอติก กินตอนไหน เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีมากที่สุด ในกรณีที่คุณเลือกกินอาหารเสริมโพรไบโอติกแนะนำให้กินก่อนมื้ออาหารหรือช่วงระหว่างมื้อเนื่องจากช่วงดังกล่าวกระเพาะยังมีปริมาณน้ำย่อยต่ำมาก ลดการถูกทำลายโดยน้ำย่อย ยางบางประเภท หรือแอลกอฮอล์ ที่สำคัญในแต่ละวันควรกินโพรไบโอติกให้ได้ระหว่าง 10-20 พันล้านตัว หรือ 10,000 ล้าน CFU (CFU คือ หน่วยวัดปริมาณจุลินทรีย์)

ตัวอย่างอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง

การเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพให้ได้ปริมาณโพรไบโอติกในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มของอาหารที่ผ่านการหมักดอง เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ ผักดอง แหนม น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล มอสซาเรลล่าชีส เชดด้าชีส คอตเทจชีส เกาด้าชีส รวมถึงอาหารชนิดอื่น ๆ อย่างพวกดาร์กช็อกโกแลต ซุปมิโซะ ถั่วนัตโตะ เทมเป้ ชาหมักคอมบูชา โพรไบโอติก ก็เยอะเช่นกัน

รู้แบบนี้แล้วใครที่มักป่วยง่าย ท้องเสียบ่อย ลองปรับรูปแบบการกินอาหารในแต่ละมื้อให้มีโพรไบโอติกรวมอยู่ด้วย จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงมากขึ้น เน้นกินอาหารให้ครบทุกหมู่อย่างหลากหลาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะ

Sign Up Here!

Get notified when more articles like these get published.

Share Article

Sign Up

Get notified when this course becomes available again!