การเข้าใจกับอารมณ์ลูก เพื่อการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง
ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กต่างมีอารมณ์เหมือนกัน ความรุนแรงแตกต่างออกไปตามการเลี้ยงดูหรือประสบการณ์ที่เจอ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ การรับมือกับอารมณ์ที่ถูกต้อง เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพของเด็กที่วันนี้ถูกเลี้ยงดูอย่างไร จะโตเป็นผู้ใหญ่ในแบบที่เขาได้รับการเลี้ยงดูมา แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถเหมารวมได้ ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน การมีพื้นฐานครอบครัวที่ดี เป็นสิ่งแรกที่ส่งผลให้เด็กมีกระบวนการคิด การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง จัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ดี
เพราะอะไรการเข้าใจอารมณ์ของลูกถึงเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการเลี้ยงดูเขา
การเข้าใจถึงอารมณ์ลูกถือเป็นอีกแก่นหนึ่งของการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ควรเอาใจใส่และทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก การรับรู้และเข้าใจอารมณ์ต่างๆของลูกช่วยให้พ่อแม่สามารถรับมือ แก้ไขกับเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นได้อย่างเรียบง่าย เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของคนในครอบครัว
วิธีการสอนลูกให้สามารถรับมือในแต่ละสภาพอารมณ์
คนเราเมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้นคนที่จะแก้ไข หรือผ่อนคลายอารมณ์ได้ดีที่สุดก็คือตัวเอง ไม่มีใครที่สามารถรองรับอารมณ์ของเราได้ทุกครั้ง เพื่อการมีสุขภาพจิตที่ดีของลูก พ่อแม่ควรสอนลูกถึงวิธีการรับมือกับอารมณ์ในแบบต่างๆ แน่นอนว่าทุกครั้งที่เกิดอารมณ์พ่อแม่ทั้งหลายต่างก็พยายามสอนลูกด้วยวิธีการต่างๆ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าการสอนรูปแบบที่ทำกันอยู่เป็นวิธีที่ใช่หรือมาถูกทางแล้ว ตามไปดูวิธีการรับมือ และจัดการกับอารมณ์ของลูกที่ถูกต้องพร้อมๆ กันเลยค่ะ
- ช่วงเริ่มของอารมณ์ ในช่วงเริ่มต้นนี้จะเป็นช่วงที่มีเหตุการณ์ต่างๆ เป็นตัวจุดประกายอารมณ์ในตัวลูกให้ลุกโชน เมื่อพ่อแม่เห็นดังนี้แล้ว ให้รีบเข้าไปหาลูกพร้อมทั้งใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์ เช่น ตอนนี้หนูรู้สึกยังไงอยู่ กำลังเสียใจเรื่องอะไร เป็นต้น
- ช่วงกลางของอารมณ์ เป็นช่วงที่รับรู้อารมณ์ได้อย่างเต็มที่ เมื่อเสียใจจะร้องไห้ เมื่อโมโห โกรธ หงุดหงิด จะกระฟัดกระเฟียดหรือหายใจหอบถี่ ในช่วงกลางของอารณ์นี้ให้พ่อแม่พูดปลอบโยนลูกแบบไม่ใช่การพยายามยัดเยียดความคิดของตัวเองลงไป โดยสามารถทำได้ด้วยคำพูด คือ หนูเสียใจได้นะ ถ้าเสียใจก็ร้องไห้ออกมา การร้องไห้ไม่ได้เป็นเรื่องแย่ หรือเป็นสิ่งที่แสดงออกว่าหนูอ่อนแอ ทุกๆ คนมีความรู้สึกเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นตัวลูกเองหรือแม้แต่พ่อแม่ก็ตาม ลูกจะรับรู้และเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังเป็นนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทุกคนเป็นกัน การสอนให้ลูกเข้าใจอารมณ์ช่วยให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ
- ช่วงปลายของอารมณ์ เป็นช่วงที่อารมณ์ที่เกิดขึ้นเริ่มผ่อนคลายลง ช่วงนี้พ่อแม่สามารถพูดคุยกับลูกได้อย่างเต็มที่โดยสอนถึงวิธีการจัดการกับอารมณ์ในช่วงที่ผ่านมา ว่าเมื่อเกิดอารมณ์เหล่านี้ลูกสามารถมาระบายอารมณ์ได้บนกระดาษ ขีดเขียนมันลงไป หรือสงบจิตใจ นับ 1-100 ให้ใจเย็นลงก่อน แล้วค่อยกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติ
การใช้หลักจิตวิทยาในการดูแลลูก
จริงๆ แล้วการใช้หลักจิตวิทยาในการดูแลลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่กระทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวันเพียงแต่ว่าจะสามารถนำมาปรับใช้กับการดูแลลูกได้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง การใช้จิตวิทยาในการเลี้ยงลูกเท่ากับว่าเป็นการมีพื้นฐานครอบครัวที่ดี สร้างความแข็งแกร่งให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ สามารถจัดการชีวิตของตนเองได้ดี
สำหรับครอบครัวไหนที่พ่อแม่เข้มงวดกับลูก หากอ่านบทความนี้จบแล้ว คุณสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูได้ใหม่ให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง คิดได้ตามแบบฉบับของลูก เท่านี้ก็เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวได้แล้ว และการเข้าใจอารมณ์ลูก เข้าใจอารมณ์ตัวเองเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะมนุษย์เราตั้งแต่เกิดมาล้วนแล้วแต่มีอารมณ์ด้วยกันทั้งนั้น การรับมือ การจัดการกับอารมณ์ที่ดี การเข้าใจอารมณ์ในช่วงเวลานั้นต่างหากล่ะที่จะช่วยให้เราคลี่คลาย จัดการอารมณ์นั้นได้ไวและเข้าใจอารมณ์มากที่สุด สามารถดำเนินชีวิตต่อได้ตามปกติโดยที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวยังกลมเกลียวดังเดิม