fbpx

ลูกติดมือถือ กับอันตรายของอาการโนโมโฟเบีย

 ลูกติดมือถือ กับอันตรายของอาการโนโมโฟเบีย

พ่อแม่ยุคปัจจุบันมักใช้มือถือในการแก้ปัญหาเวลาที่ลูกงอแง หรือร้องไห้ เพียงยื่นมือถือให้ลูกก็กลายเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายขึ้นมาทันทีทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย แสดงให้เห็นว่ามือถือสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้ในพริบตา แต่สิ่งเหล่านี้ส่งผลดีในระยะสั้น แต่กลับส่งผลเสียในระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในกรณีที่พ่อแม่ใช้มือถือในการแก้ปัญหาอยู่บ่อยๆแบบนี้ ส่งผลให้ลูกติดมือถือตั้งแต่ยังเด็ก ส่งผลต่อสุขภาพจิตลูกโดยตรงเพราะการติดมือถืออันดับแรกที่พ่อแม่เจอบ่อยครั้งเลยคือ อาการขี้หงุดหงิด โมโหร้าย ซึ่งประเด็นเหล่านี้เราจะมาคุยกันถึงต้นตอสาเหตุแท้จริงแล้ว เป็นโรคหรือไม่อย่างไร จะได้แก้ไขอย่างตรงจุด

โรคนี้คืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็นอาการของการกลัวการขาดมือถือ ในทางการแพทย์ไม่ใช่โรคแต่เป็นกลุ่มอาการ เพราะมีการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนหรือสังคม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นจะมีคำเรียกเฉพาะ โดยคำที่ใช้แทนเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่เรียกว่า “โนโม” แทนมือถือ หรือสิ่งอื่นๆที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ส่วน “โฟเบีย” มาจากคำว่าความกังวล กังวลเกินเหตุ

สาเหตุเกิดจากโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่พกพาได้ง่าย ผู้คนจึงนิยมพกพาไปด้วยแทบบจะทุกที่ อีกทั้งมีมือถือเครื่องเดียวก็ออกบ้านได้แล้ว จึงเป็นสิ่งที่คนให้ความสำคัญอย่างมาก

อาการของโรค มีอะไรบ้าง

เมื่อพ่อแม่ใช้มือถือในการแก้ปัญหากับลูกอยู่บ่อยๆแน่นอนเลยว่าปัญหาที่ตามมายาวเป็นขบวน หากปล่อยไว้นานจะแก้ไขได้ยาก อาจต้องพบจิตแพทย์เด็กเพื่อบำบัดอาการที่เกิดขึ้น ส่วนอาการที่บ่งบอกชัดเจนว่าอยู่ในกลุ่มโนโมโฟเบีย ได้แก่

  • ร้องไห้งอแงเมื่อไม่ได้เล่นมือถือ เด็กจะร้องไห้งอแงเพื่อส่งสัญญาณว่าอยากเล่นมือถือ หากพ่อแม่ส่งมือถือให้เด็กจะหยุดร้องทันที เป็นพฤติกรรมที่คาดเดาได้ไม่ยากเลย แต่การแก้ไขปัญหาของพ่อแม่แบบนี้ถือเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาวส่งผลเสียต่อตัวเด็กเต็มๆ
  • กระวนกระวายใจหากไม่ได้จับ อาการลูกติดมือถือมักจะจับมือถือไว้ข้างกายตลอดถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานก็ตาม หากต้องการให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ พ่อแม่ควรหาวิธีการแก้ไขอย่างทันท่วงที
  • ติดเกมหรือการ์ตูน ลูกติดมือถือมักจะใช้เวลาอยู่กับมือถือในการดูการ์ตูนหรือเล่นเกมจนบางทีรู้สึกตัวก็หมดวันไปแล้ว หากเป็นแบบนี้คงไม่ใชเรื่องดีแน่ เพราะนอกจากสมองที่ขาดพัฒนาการแล้ว ยังส่งผลกระทบด้านสายตา และร่างกายด้านอื่นๆ อีกมาก

ผลข้างเคียงที่ตามมาจากการใช้งานมือถือที่มากเกินไป

  • สายตาได้รับผลกระทบเต็มๆ จากการจับจ้องที่หน้าจอซึ่งแสงจากหน้าจอมือถือมีอันตรายต่อดวงตา
  • กล้ามเนื้อส่วน คอ บ่า ไหล่ ที่เกิดจากการเกร็งหรืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องนานๆ ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าตามมาได้ หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจเสี่ยงต่อการเส้นประสาทถูกกดทับได้
  • โรคอ้วน เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย อยู่ในท่าเดิมนานๆ พลังงานที่ถูกรับเข้าไปในรูปของอาหารไม่ถูกนำไปใช้ร่างกายจึงเก็บไว้สะสมให้เกิดเป็นโรคอ้วนได้

การรักษาและป้องกันอาการของโรค ทำได้อย่างไร

เมื่อลูกติดมือถือแล้ว อาการที่ฟ้องออกมาทางร่างกายจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องช่วยกันรักษา หรือในครอบครัวที่ยังไม่เกิดการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นเรื่องที่สำคัญ และควรทำอย่างยิ่ง ในรายที่มีอาการต้องรับการรักษาหากมีอาการมากสามารถพบจิตแพทย์เด็ก เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี ในรายที่อาการไม่รุนแรงนักควรปรับลดระยะเวลาการใช้มือถือลงจนรู้สึกว่าไม่ต้องจับมือถือตลอดเวลาก็ได้

Sign Up Here!

Get notified when more articles like these get published.

Share Article

Sign Up

Get notified when this course becomes available again!